ริเริ่ม รอบรู้ ประพฤติดี มีความรับผิดชอบ
ต้นกล้าแห่งวัฒนธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี
โครงสร้างบริหารโรงเรียน










การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เจ้าของผลงาน : นายเจษฎา สินมาก
หมวดวิชา : สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
เอกสารดาวน์โหลด: บทคัดย่อRDเจษ.pdf

 

ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย           นายเจษฎา สินมาก

ปีที่ศึกษา       2561

 

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.2) ศึกษาทักษะการจัดการความรู้หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทีมีต่อรูรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อถอดบทเรียนการจัดการความรู้ หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ข้อมูล พื้นฐาน

(Analysis: A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development: D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D) การประเมินผล (Evaluation: E)

 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยยึดหลักการเรียนรู้ ทีเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มมุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้ จากการปฏิบัติร่วมกันและมีการจัดเก็บความรู้ ที่มีอยู่ในตัวตนของนักเรียนเปลี่ยนเป็นความรู้ ที่ชัดแจ้งด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรียกว่า PHUKET Model มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการความรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้
  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .01 ส่วนทักษะการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  3. ผลการถอดบทเรียน จากการบันทึกความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการสัมภาษณ์นักเรียน และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนจะให้ประสบผลสําเร็จนั้นต้องเริ่มต้นที่ตัวครู ก่อนโดยครูผู้สอน

 

 

    ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒



ย้อนกลับ

โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว

ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๐/๒ ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๖-๒๑๑๔๖๓ โทรสาร ๐๗๖-๒๒๓๕๑๙
Email : info@bangneaw.ac.th , bangneaw450@gmail.com |
Website : www.bangneaw.ac.th

ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สงวนลิขสิทธิ์
ออกแบบและพัฒนาโดย Kobiz Design Co., Ltd.

แผนที่โรงเรียน

ติดตามข่าวสารทาง